หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558



                                     ผ่อนคลายสมาธิ


                                         



เพลงทะเลชีวิต

                      




มหาสติปัฏฐาน สูตร



                      ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุข



                                         


วิปัสสนากัมมัฏฐาน





                                         

                                สมถะกัมมัฏฐาน
                            และวิปัสสนากรรมฐาน


                                       



มรรคมีองค์ ๘






                                       อิทธิบาท 4






                                          อริยสัจ 4






                                   ฆราวาสธรรม 4






สมาบัติ ๘  ตอนที่ ๓




                                 วิปัสสนาญาณ ๙





สมาบัติ ๘ ตอนที่ ๑

                                                    สมาบัติ ๘ ตอนที่ ๒

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สมาบัติ8

สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌานการบรรลุฌานธรรมที่พึงเข้าถึงฌาน
สมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน นั่นเอง
สมาบัติ มี 8 อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูป สมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ
สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งคือ นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งละเอียดสุขุมกว่าอรูปฌาน เมื่อรวมกับสมาบัติ 8 ข้างต้นก็เป็น 9 มีคำเรียกต่างหากว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ


มรรค8

มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง หมายถึง ความรู้-ปัญญา หรือมุมมอง ที่ถูกต้องตรงกับความจริง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4
  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดที่ถูกต้อง หมายถึง ความคิดที่ต้องละเว้นจากความพอใจ ความพยาบาทและการเบียดเบียน
  3. สัมมาวาจา คือ เจรจาที่ถูกต้อง หมายถึง การพูดที่ต้องละเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียดและเพ้อเจ้อ
  4. สัมมากัมมันตะ คือ การปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง การกระทำที่ต้องละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์และประพฤติผิดในกาม
  5. สัมมาอาชีวะ คือ การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง หมายถึง การทำมาหากินอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีการทุจริตและเอาเปรียบผู้อื่น
  6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรที่ถูกต้อง หมายถึง ความอุตสาหะหรือความพยายามที่อยู่ในวิถีทางที่ดีงาม คือการละบาปอกุศลทางใจ และเจริญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป
  7. สัมมาสติ คือ การมีสติที่ถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โดยกำจัดความฟุ้งซ่าน รำคาญ หดหู่ ง่วงซึม สงสัย และลังเล คือการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เช่นการเจริญอานาปานสติสมาธิ มีสติรู้ลมหายใจ
  8. สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิที่ถูกต้อง หมายถึง การฝึกกายและอารมณ์ให้สงบ โดยกำจัดควาคิด,ความจำและอารมณ์ออกไปชั่วขณะหนึ่ง คือการเจริญฌานทั้งสี่

1.ธัมมัญญู เป็นผู้รู้จักเหตุ
2.อัตถัญญู เป็นผู้รู้จักผล
3.อัตตัญญู เป็นผู้รู้จักตน
4.มัตตัญญู เป็นผู้รู้จักประมาณ
5.กาลัญญู เป็นผู้รู้จักกาล
6.ปริสัญญู เป็นผู้รู้จักชุมชน
7.ปุคคลัญญู หรือ ปุคคลปโรปรัญญู เป็นผู้รู้จักบุคคล
 

ฆราวาสธรรม 4

ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ
ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
  1. สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน
  2. ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ
  3. ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
  4. จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่าง

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน, ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หมายถึง หลักการครองใจคน, หลักยึดเหนี่ยวใจกันไว้, วิธีทำให้คนรัก, หลักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นเครื่องประสานใจและเหนี่วรั้งใจคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และทำให้อยู่กันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน เหมือนลิ่มสลักรถที่ตรึงตัวรถไว้มิให้ชิ้นส่วนกระจายไป ทำให้รถแล่นไปได้ตามที่ต้องการ
สังคหวัตถุมีสี่ประการ คือ
  1. ทาน การให้ การเสียสละ การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แบ่งปันกัน (แบ่งปันไปมา)
  2. ปิยะวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะกับกาลเทศะ พูดดีต่อกัน (พูดจาจับใจ)
  3. อัตถจริยา ช่วยเหลือกัน (ช่วยกิจกันไป)
  4. สมานัตตา การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ โดยประพฤติตัวให้มีความเสมอต้นเสมอปลาย วางตัวดีต่อกัน (นิสัยเป็นกันเอง)


อิทธิบาท 4


อิทธิบาท 4

  คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น




อคติ4

อคติ 4 ประกอบด้วย
1. ฉันทาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะรัก เพราะชอบเป็นพิเศษ
2. โทสาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะชัง เพราะความเกลียดชัง ความไม่ชอบ
3. ภยาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ
4. โมหาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะไม่รู้(หลง)

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4

 ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตาความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณาความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตาความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขาการรู้จักวางเฉย

อริยสัจ4


อริยสัจ 4

  มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบา

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงในธรรมชาติ
เรื่องของจิต
อาการของจิต (ซึ่งเป็นนามขันธ์) เกิดขึ้นที่จิต แล้วก็ดับไปจากจิตตามลำดับ แต่จิตยังคงยืนตัวรู้อยู่ตลอด ทุกกาลสมัย ทุกภพทุกชาติ ไม่ได้พลอยเกิดดับตามอารมณ์ทั้งหลายไปด้วย
การเกิดดับของจิต เป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง(อนิจจัง) ไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้นั้นเป็นทุกข์ 
(ทุกขัง) ไม่ใช่ตัวตน(อนัตตา)